การติดตั้ง OpenCart
ว่าด้วยเรื่องระบบตระกร้าสินค้า มี CMS ฟรี หลายตัวให้เราเลือกใช้ แต่ อีโว โฮสติ้ง ขอแนะนำ OpenCart เนื่องจากการติดตั้งง่าย สะดวกต่อการใช้งาน ทั้งฝั่งหน้าร้าน และหลังร้าน มีระบบวิเคราะห์ต่าง ๆ ครบครัน และนอกจากนี้ ระบบของ OpenCart ยังถือว่าสมบูรณ์แบบ รวมถึงมี Module ต่าง ๆ ที่เอื้ออำนวยให้เจ้าของเว็บได้ใช้งานอย่างมาก และมีการอัพเดทที่ต่อเนื่อง จึงเป็นตัวหนึ่งที่เราภูมิใจเสนอ
ขั้นตอนการติดตั้ง OpenCart
สำหรับขั้นตอนการติดตั้ง OpenCart ก่อนอื่นต้องทำการ Download File จากเว็บไซต์ของ OpenCart ก่อนเลยครับ
Download Link
http://www.opencart.com/index.php?route=download/download
เมื่อเข้าไปที่หน้าเว็บ OpenCart แล้ว สามารถเลือก Download Version ล่าสุดได้เลย เมื่อทำการ Download OpenCart มาแล้วให้ทำการ UnZip หรือ แตกไฟล์ออก แล้วทำการอัพโหลดขึ้นสู่โฮสติ้ง (ดูขั้นตอนการอัพโหลดไฟล์ได้ที่นี่)
สำหรับ OpenCart นั้น ให้เรา เปลี่ยนชื่อไฟล์ ทั้งหมด 2 ที่ก่อนทำการอัพโหลดนะครับ หรือถ้าอัพโหลดไปแล้ว ก็เข้าไปแก้ไขไฟล์ config-dist.php เป็น config.php ทั้งสองที่นะครับ
config-dist.php
admin/config-dist.php
เป็น
config.php
admin/config.php
ขั้นตอนเตรียมความพร้อมก่อนการติดตั้ง ให้เราไปสร้าง MySQL ขึ้นมา ก่อน (ดูขั้นตอนการสร้าง MySQL ได้ที่นี่)
ในขั้นตอนการติดตั้งปรกตินั้นจะต้องทำการแก้ไข Permission ของ File และ Folder ตามที่ WordPress ต้องการก่อน แต่สำหรับโฮสติ้งของ EVO Hosting ไม่จำเป็นต้องทำการแก้ไข Permission สามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย
ขั้นตอนการติดตั้งสำหรับโฮสติ้งของ อีโว โฮสติ้ง
- หลังจากนั้นทำการแตกไฟล์ออกมา
- เข้าสู่หน้าเว็บไซต์ที่ทำการติดตั้ง
- กรอกข้อมูลการเชื่อมต่อ MySQL
- กรอกข้อมูลของเว็บไซต์ และข้อมูล Username และ Password ของ Administrator
เรามาเริ่มลงมือติดตั้ง OpenCart กันเลยดีกว่า หลังจากทำการอัพโหลด OpenCart เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เข้าไปยัง หน้าเว็บไซต์ของเรา สำหรับการติดตั้ง OpenCart จะมีเพียง 4 ขั้นตอน
รูปที่ 1. หน้าแสดง License
ในหน้านี้จะแสดง License ของ Script ให้เรา Click Check Box “I agree to the license” แล้ว Click “Continue” เพื่อดำเนินการ ในขั้นตอนต่อไป
รูปที่ 2. หน้า Pre-Installation
สำหรับขั้นตอนที่ 2 นี้ ระบบ OpenCart จะเป็นหน้าเพจสำหรับเตรียมตัวก่อนการติดตั้ง และแสดง Error ต่าง ๆ ขึ้นมา ถ้า เราได้เปลี่ยนชื่อไฟล์ config-dist.php เป็น config.php ทั้งสองที่แล้วจะไม่แสดง Error ดังรูปภาพที่ 2. (ในข้อ 3. File) เราสามารถดำเนินการต่อไปได้เลย หากยังไม่ได้เปลี่ยนชื่อไฟล์ให้ทำการเปลี่ยนชื่อไฟล์ก่อนนะครับ เมื่อพร้อมแล้วให้เรา Click “Continue” เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปได้เลย
รูปที่ 3. Configuration การกำหนดค่า MySQL และ Administrator Account
เมื่อเราเข้าสู่ขั้นตอนที่ 3 ให้เรานำข้อมูลที่เราเตรียมไว้ในเบื้องต้นเกี่ยวกับ MySQL มากรอกในช่องต่าง ๆ ให้ครบถ้วน โดยเราจะกรอกเพียง 3 ช่องได้แก่
- User คือ User ของ Database ที่เราได้สร้างขึ้นมา
- Password คือ Password ของ Database ที่เราได้สร้างขึ้นมา
- Database Name คือ ชื่อของฐานข้อมูล หรือ Database ที่เราได้สร้างขึ้นมา
เมื่อกรอกข้อมูลส่วน MySQL เสร็จแล้วก็มาถึงในส่วนของข้อมูล Administrator หรือ ผู้ดูแลเว็บไซต์ ให้เรากรอกข้อมูล 3 ช่องดังนี้
- Username
- Password
เมื่อกรอกข้อมูลในส่วนของ Administratror เสร็จแล้วให้เรา Click “Continue” ระบบจะทำการติดตั้งฐานข้อมูลและ ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 4 ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายครับ
รูปที่ 4. เสร็จสิ้นการติดตั้ง
เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ แสดงว่าเราได้ทำการติดตั้งเสร็จสมบูรณ์แล้ว และเราสามารถชมหน้าเว็บเราโดยการ Click ที่ฝั่งซ้าย หรือจะเข้าไปจัดการระบบหลังบ้าน ก็ Click ที่ฝั่งขวา
แต่ถึงขั้นตอนการติดตั้งแล้ว แต่ยังไม่เสร็จเสียทีเดียวนะครับ เพราะ ด้านบน เราจะเห็น มีแถบสีแดง ๆ เตือนเราอยู่
Don’t forget to delete your installation directory!
ให้เรา เข้า FTP อีกครั้งเพื่อทำการลบ Folder install ออกเสียก่อนนะครับ เพื่อไม่ให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาดำเนินการใด ๆ กับเว็บเราได้