สำหรับการจดโดเมน .th จะมีเงื่อนไขที่พิเศษกว่าโดเมนสกุลอื่นๆ คือ โดเมนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ .in.th จะจดโดเมนได้ต้องเข้าเงื่อนไขที่ทาง THNIC กำหนด และจะต้องส่งเอกสารให้ทาง THNIC ตรวจสอบด้วย (การส่งเอกสารสามารถใช้วิธีการแสกนส่งมาให้เราทางอีเมลล์ support@evo.in.th หรือสามารถแฟกซ์มาได้ที่ 0 2903 0080 ต่อ 6690 หรือสามารถใช้กล้องถ่ายรูปถ่ายรูปมาก็ได้เช่นกัน)
เงื่อนไข และเอกสารที่ต้องใช้ จดโดเมนเนม มีดังนี้
- .in.th ( สำหรับบุคคลทั่วไป, หน่วยงาน, หรือองค์กรต่างๆ )เอกสารที่ใช้ประกอบการจดทะเบียนโดเมนเนมภายใต้ .in.th นั้น สามารถพิจารณาได้เป็น 2 แบบ
แบบที่หนึ่ง : จดทะเบียนโดเมนเนมในนามองค์กร
แบบที่สอง?: จดทะเบียนโดเมนเนมในนามบุคคล
เอกสาร: (ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง)
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาใบขับขี่
- หนังสืออนุญาตประกอบอาชีพของคนต่างด้าว
- .co.th ( สำหรับการพาณิชย์และธุรกิจ ) ผู้สมัครขอจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้หมวดหมู่นี้ จะต้องเป็นองค์กรพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือบริษัทต่างประเทศที่มีตัวแทนอยู่ในประเทศไทย และตัวแทนนั้น จะต้องจดทะเบียนในประเทศไทย และได้รับการโอนสิทธิ ในการจดทะเบียนชื่อโดเมนจากบริษัทแม่ในต่างประเทศเป็นที่เรียบร้อยเอกสารที่ใช้ประกอบการจดทะเบียนโดเมนเนมภายใต้ .co.th นั้น สามารถพิจารณาได้เป็น 2 แบบ
แบบที่หนึ่ง : คือจดทะเบียนโดเมนเนมโดยพิจารณาจากชื่อองค์กร
- ชื่อโดเมนเนมจำเป็นต้องสอดคล้อง, เป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือย่อมากจากชื่อองค์กรได้
- หนึ่งองค์กรสามารถจดทะเบียนโดเมนเนมได้มากกว่า 1 ชื่อ โดยเงื่อนไขเป็นไปตามนโยบายของ thnic
- องค์กรที่จดทะเบียนในประเทศไทย
- องค์กรต่างประเทศ จะต้องมีตัวแทนที่จดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย
เอกสาร: (ต้องใช้ทั้งหมด 3 รายการ)
1. หนังสือรับรองบริษัทต่างประเทศ
2. หนังสือรับรองบริษัทตัวแทนที่จดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย
3. หนังสือรับรองที่รับรองโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งมีใจความสำคัญ 2 ใจความ ( ตัวอย่าง)
– รับรองบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยเป็นบริษัทตัวแทน
– รับรองการอนุญาตใช้ชื่อองค์กรต่างประเทศในการจดทะเบียนโดเมนเนม ในชื่อ XXX.CO.TH
แบบที่สอง : คือจดทะเบียนโดเมนเนมโดยพิจารณาจากเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ
- ชื่อโดเมนเนมจำเป็นต้องตรงกับเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการทุกตัวอักษร
- องค์กรที่มีเครื่องหมายการค้ามากกว่า 1 ตัว สามารถจดชื่อโดเมน .co.th ได้ตามจำนวนเครื่องหมายการค้านั้น
- เครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการที่จดทะเบียนในประเทศไทย
เอกสาร:
1.1. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือ หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ ที่ถูกจดทะเบียนและประกาศรับรองโดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประเทศไทย
- เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศ จะต้องมีตัวแทนที่จดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย
เอกสาร: (ต้องใช้ทั้งหมด 3 รายการ)
1. หนังสือรับรองบริษัทต่างประเทศ
2. หนังสือรับรองบริษัทตัวแทนที่จดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย
3. หนังสือรับรองที่รับรองโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งมีใจความสำคัญ 2 ใจความ
– รับรองบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยเป็นบริษัทตัวแทน
– รับรองการอนุญาตใช้ชื่อองค์กรต่างประเทศในการจดทะเบียนโดเมนเนม ในชื่อ XXX.CO.TH
- .ac.th ( สำหรับสถาบันการศึกษา ที่จดทะเบียนในประเทศไทย )
- หนังสือจัดตั้งโรงเรียน ที่เซ็นรับรองโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ – ( ตัวอย่าง)
- กรณีที่ไม่สามารถแสดงหนังสือจัดตั้งโรงเรียนได้นั้น ให้ทางโรงเรียนออกหนังสือรับรอง หน่วยงานที่สังกัด ที่ตั้งของโรงเรียน และรับรองการขอจดทะเบียนโดเมนเนม พร้อมทั้งประทับตราและเซ็นต์รับรองโดย ท่านผู้อำนวยการของทางโรงเรียน ( ตัวอย่าง)
- .go.th ( สำหรับการใช้ของภาครัฐบาล เช่น กระทรวงหรือหน่วยงานรัฐบาล )
- หนังสือที่ทางหน่วยงานแจ้งชื่อโดเมนเนม .go.th ให้ทาง ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (Chief Information Officer : CIO) ของกระทรวง/กรมต้นสังกัด รับทราบ
- ตัวอย่างเอกสารจากหน่วยงานถึงCIO
- .or.th?( สำหรับองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร )
- หนังสือจัดตั้งองค์กร เช่น หนังสือจัดตั้งสมาคม หรือ หนังสือจัดตั้งมูลนิธิ เป็นต้น
- กรณีที่ไม่สามารถแสดงหนังสือจัดตั้งองค์กรได้นั้น ใช้หนังสือซึ่งประกอบด้วย ประธาน, คณะกรรมการ, จุดประสงค์ที่เด่นชัด, ที่อยู่ที่แน่นอน และมีหน่วยงานที่เป็นที่รู้จักรับรองว่า มีหน่วยงานของท่านอยู่จริง
- .mi.th ( สำหรับหน่วยงานทางทหาร )
- หนังสือรับรองจาก กรมการสนเทศทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด ว่าอนุญาตให้หน่วยงาน/องค์กรของท่าน จดทะเบียนโดเมนเนมภายใต้ .mi.th ได้
- สำหรับแบบฟอร์มและวิธีการขอหนังสือรับรองจาก กรมการสนเทศทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด ดูรายละเอียดได้ที่http://web.schq.mi.th/mi.th
- .net.th ( สำหรับนิติบุคคลผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมทั้ง 3 แบบ ตาม พระราชบัญญัติ การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔)
- หนังสือจัดตั้งองค์กร เช่น หนังสือจัดตั้งสมาคม หรือ หนังสือจัดตั้งมูลนิธิ เป็นต้น
- กรณีที่ไม่สามารถแสดงหนังสือจัดตั้งองค์กรได้นั้น ใช้หนังสือซึ่งประกอบด้วย ประธาน, คณะกรรมการ, จุดประสงค์ที่เด่นชัด, ที่อยู่ที่แน่นอน และมีหน่วยงานที่เป็นที่รู้จักรับรองว่า มีหน่วยงานของท่านอยู่จริง
|